1. การจัดการปัญหาขยะในทะเล
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาขยะในทะเลที่นับวันจะส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นทั้งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ระบบนิเวศ และคุณภาพชีวิตของผู้คน ส่วนส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีแนวคิดที่จะดำเนินการเก็บขยะชายหาดในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ จึงเข้ามารับหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ร่วมกับ สมาคมกรีนฟินส์ และองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) เพื่อจัดกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดสากล (International Coastal Cleanup) อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในปี 2551 โดยจะยึดแนวทางปฏิบัติและวิธีการดำเนินงานตามกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดสากล และมีเป้าหมายที่จะเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างเครือข่ายจัดกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับขยะในทะเล ร่วมกับหน่วยงาน องค์กรท้องถิ่น พร้อมทั้งเพิ่มปริมาณอาสาสมัคร และขยายพื้นที่ในการเก็บขยะในทะเล
นอกจากกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดสากลดังกล่าวแล้ว ทุกภาคส่วนควรร่วมใจในการรวบรวมและจัดการขยะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อลดปริมาณขยะที่สะสมบริเวณชายฝั่งและในทะเล เช่น การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า เพื่อให้ลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้น เสริมสร้างประสิทธิภาพและกลไกการรวบรวมขยะจากแหล่งกำเนิด ให้ความรู้และสร้างความตระหนักกับนักท่องเที่ยวและชาวประมงในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้อง เป็นต้น
2. พาคนชราข้ามถนน
ถึงแม้คนชรายังสามารถเดินได้ว่า รถบ้างคันก็อาจจะรีบเร่ง คนชราอาจจะมองไม่ทัน ในฐานะที่เรานั้นเป็นเพื่อนมนุษย์เหมือน เมื่อเห็นคนมีความลำบากก็ควรช่วยเหลือ
3. กวาดห้องเรียน
ห้องเรียนเป็นสถานที่นักเรียนทุกๆคน ก็ต้องใช้ห้องนี้ในการเรียน เพราะฉะนั้นแล้ว นักเรียนทุกคนควรทำความสะอาดห้องเรียน ถึงแม้ห้องเรียนจะไม่ใช่ของเราแต่เราก็รักษาเพราะอย่างน้อยเราก็ต้องใช้ในการเรียน
4. กวาดลานวัด
ถึงแม้ลานวัดจะไม่ใช่ของเราก็ตาม ถึงแม้อย่างไรก็ตามศาสนิกชนทุกคนก็ต้องเข้าวัด เพราะฉะนั้นเราซึ่งเป็นศาสนิกชน ก็ควรที่จะดูแลรักษาลานวัด ให้สะอาด
5. ล้างห้องน้ำโรงเรียน
ห้องน้ำโรงเรียนเป็นสถานที่นักเรียนทุกๆคน ก็ต้องใช้ห้องนี้ในการขับถ่าย เพราะฉะนั้นแล้ว นักเรียนทุกคนควรทำความสะอาดห้องน้ำโรงเรียน ถึงแม้ห้องน้ำโรงเรียนจะไม่ใช่ของเราแต่เราก็รักษาเพราะอย่างน้อยเราก็ต้องใช้ในการขับถ่าย
6. บริจาคเลือด
อาจจะมีผู้คนอยู่มากมายที่บาดเจ็บ แล้วต้องการความช่วยเหลือ แต่ทางโรงพยาบาลอาจจะมีเลือดไม่พอ เพราะฉะนั้นเราควรบริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
7. ช่วยสอนเพื่อนทำการบ้าน
การบ้านบ้างทีคุณครูอาจจะให้การบ้านมายากจนเกินไป เราจึงต้องรวมหัวกันช่วยกันทำการบ้านเหตุเนื่องจากการบ้านยากจนเกิดไป
8. ลุกขึ้นให้ สตรีมีครรภ์ และคนชรานั่ง
เหตุที่ต้องลุกให้ สตรีมีครรภ์ และคนชรานั่ง เพราะเราเป็นคนที่แข็งแรงกว่าจึงต้องเสียสละลุกให้คนที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ
9. ถูพื้นห้องเรียน
ห้องเรียนเป็นสถานที่นักเรียนทุกๆคน ก็ต้องใช้ห้องนี้ในการเรียน เพราะฉะนั้นแล้ว นักเรียนทุกคนควรทำความสะอาดห้องเรียน ถึงแม้ห้องเรียนจะไม่ใช่ของเราแต่เราก็รักษาเพราะอย่างน้อยเราก็ต้องใช้ในการเรียน
10. ปลูกป่าชายเลน
การปลูกป่าชายเลน เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประเภทป่าชายเลน รวมทั้งเป็นการป้องกันภัยจากคลื่นลม ในฤดูมรสุม และอนุรักษ์แหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
หลากหลายกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น ชมระบบนิเวศป่าชายเลนและให้อาหารลิงแสม ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ถีบกระดานเลนเก็บหอยแครง ล้อมกล่ำปลาดุกทะเล รับประทานอาหารกลางวันบน "กระเตงกลางทะเล" ชมฟาร์มหอยนารมและหอยแมลงภู่ แถกเรือบนเลน กิจกรรมปลูกป่าชายเลนโดยใช้กระดานเลน และเล่นสกีกระดานเลน
สาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิ
สาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิ
เป็นที่เข้าใจกันดีว่า คลื่นสึนามิมิได้เกิดจากลมพายุเหมือนอย่างคลื่นธรรมดา เพราะเมื่อเกิดคลื่นสึนามิ ท้องฟ้าอาจปลอดโปร่งไม่มีลมพายุเลยก็ได้ นักวิชาการในสมัยก่อนคิดว่า การเกิดคลื่นสึนามิอาจเกี่ยวข้องกับน้ำขึ้นน้ำลง ที่ผิดปกติในท้องทะเล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของจุดดับบนดวงอาทิตย์ (sun spots) หรือจากการวางตัว ของดาวเคราะห์ต่างๆ ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของโลก ดังนั้นจึงเรียกคลื่นชนิดนี้ว่า คลื่นน้ำขึ้นลง (tidal waves) ปัจจุบันเราทราบแล้วว่า คลื่นสึนามิไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขึ้นลงของน้ำทะเล แต่เกิดจากการไหวสะเทือนของเปลือกโลก อย่างรุนแรงใต้พื้นท้องทะเล และมหาสมุทร ซึ่งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ทำให้มวลน้ำในมหาสมุทร เกิดการเคลื่อนไหวกลายเป็นคลื่นขนาดใหญ่ แผ่กระจายเป็นวงกว้างออกไปจากบริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลาง ของแผ่นดินไหว และเนื่องจากคลื่นชนิดนี้มิได้เกิดจากการขึ้นลงของน้ำทะเล นักวิชาการในปัจจุบันจึงไม่นิยมเรียกว่า tidal waves แต่เปลี่ยนมาเรียกว่า tsunami
ถึงแม้ว่าการเกิดคลื่นสึนามิส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงใต้พื้นท้องมหาสมุทร แต่ถ้ามีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในท้องทะเลโดยมิใช่จากการกระทำของลมพายุแล้ว ก็ถือเป็นคลื่นสึนามิได้เช่นกัน นักวิชาการจึงแบ่งสาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหว (seismic tsunami) และคลื่นสึนามิไร้แผ่นดินไหว (non - seismic tsunami)
๑. คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหว
เป็นผลมาจากการเกิดแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรง คือ ตั้งแต่ ๘.๐ ขึ้นไปตามมาตราริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใต้พื้นท้องมหาสมุทร หรือที่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล ในทางธรณีวิทยาเราทราบแล้วว่า เปลือกโลกประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลก (tectonic plates) หลายๆ แผ่นเชื่อมต่อกัน เมื่อใดที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือแยกออกจากกันจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น โดยความรุนแรงจากการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละคราว บริเวณที่เป็นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจึงมักเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งเลื่อนตัวมุดลงไปใต้ขอบของแผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง และหากบริเวณนั้นอยู่ใต้ทะเล ก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้นได้
จากการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดคลื่นสึนามิที่ผ่านมาในอดีต พบว่าบริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิบ่อยครั้งมาก คือ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้เนื่องจากมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นพื้นน้ำขนาดใหญ่ ครอบคลุมเนื้อที่ถึงประมาณ ๑ ใน ๓ ของพื้นผิวโลก การเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณที่ใดที่หนึ่งของมหาสมุทรนี้ ย่อมจะส่งผลให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ แผ่กระจายออกไปได้กว้างขวางมาก และอาจทำความเสียหายให้แก่ดินแดนต่างๆ ที่ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดแผ่นดินไหวหลายพันกิโลเมตรก็ได้ ดังเช่นกรณีการเกิดแผ่นดินไหว ที่ใกล้ชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ แต่คลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวไปถึงหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก และยังเลยไปถึงหมู่เกาะญี่ปุ่นทางตะวันออกของทวีปเอเชียด้วย
แผนที่โลกแสดงแนวเขตของแผ่นเปลือกโลกต่างๆ ซึ่งที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกเหล่านั้น มักเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุบ่อยๆ
โดยเฉพาะในบริเวณที่เรียกว่า วงแหวนอัคนี ในมหาสมุทรแปซิฟิก
จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่า แนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่มักก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงแห่งหนึ่ง อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า เขตแผ่นดินไหวมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific seismic belt) เขตนี้เป็นบริเวณเดียวกับแนวภูเขาไฟที่โอบล้อมอยู่ทางด้านตะวันตก และตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า วงแหวนอัคนี (Ring of Fire) ประกอบด้วย แนวของภูเขาไฟในคาบสมุทรคัมชัตคาของประเทศรัสเซีย หมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียซึ่งอยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทร ส่วนด้านตะวันออก มีแนวของภูเขาไฟบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้
๒. คลื่นสึนามิไร้แผ่นดินไหว
แบ่งย่อยออกเป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดแรกเกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และชนิดที่ ๒ เกิดจากการกระทำของมนุษย์
ก. ชนิดที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ มีดังนี้
- การเกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) ขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่งทะเล
- การปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเลหรือบนเกาะในทะเล
- การพุ่งชนของอุกกาบาตลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร
ข. ชนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
ตัวอย่างการเกิดของคลื่นสึนามิที่ถือได้ว่ามีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ คือ ปรากฏการณ์คลื่นขนาดใหญ่ ที่เคลื่อนตัวมาถึงชายฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ทั้งๆ ที่มิได้เกิดแผ่นดินไหวมาก่อน แต่เป็นเพราะมีการทดลองระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกาที่เกาะบิกินี ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๑ และวันที่ ๒๙ ของเดือนนั้น ดังนั้นจึงเชื่อว่า ความสั่นสะเทือนของพื้นน้ำ ที่เกิดจากการทดลองระเบิดปรมาณู ก็อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้นได้
อ้างอิง
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=8&page=t30-8-infodetail02.html